Menu

การอพยพยังเป็นคำอธิบาย

สำหรับปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่คล้ายๆกัน โรเบิร์ต วูโชป อธิบายเกี่ยวกับเรื่องชนเผ่าที่สาบสูญและทวีปที่จมหาย โดยใช้วิธีการศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยา  แต่การอพยพย้ายถิ่นก็มิใช่ปัจจัยของการสร้างประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม และมิใช่กระบวนการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมซึ่งไม่มีคนเข้ามาเกี่ยวข้อง     อัลเฟร็ด โครเบอร์ กล่าวว่า การย้ายถิ่นของประชากรที่นำไปสู่การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม อพยพ  เพราะการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมาจากการแก้ไขทีละเล็กละน้อย  ซึ่งความคิดของโครเบอร์เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด      การอธิบายเรื่องการแพร่กระจายวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการอพยพย้ายถิ่น ยังมีเรื่องของวัฒนธรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอพยพ   ข้อสมมุติฐานที่อยู่ตรงข้ามกับแนวคิดทฤษฎีการแพร่กระจาย  เชื่อว่ากระบวนการอพยพย้ายถิ่นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในกลุ่มของผู้อพยพเอง  โธมัส แจ็คสันกล่าวว่าชนพื้นเมืองในแคลิฟอร์เนียเป็นกลุ่มคนที่ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ใหม่ ปะปนอยู่กับคนกลุ่มเดิมและปรับตัวให้สังคมใหม่          การศึกษาเรื่องการอพยพในระยะแรกเป็นเรื่องของชาติพันธุ์ และสนใจในประเด็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ของกลุ่มคน  การวิจัยในระยะต่อมาเป็นการตีความการอพยพ โดยเชื่อว่ามันคือกลไกการปรับตัว    ประเด็นที่สำคัญคือเรื่องความหลากหลายของปัจจัยของการอพยพ ได้แก่ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ทรัพยากรขาดแคลน การเข้ามาหางานทำในเมือง  การบุกเบิกดินแดนใหม่ การมีโรคระบาด ภัยสงคราม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม การติดต่อค้าขาย และการค้นหาความฝัน

โพสต์โดย : midnight midnight เมื่อ 20 เม.ย. 2566 15:37:32 น. อ่าน 59 ตอบ 0

facebook