Menu

รูปที่ 1 โครงสร้างของดีเอ็นเอ

 ยีนและโครโมโซม DNA passes genetic information to the next generation ดีเอ็นเอ สามารถส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์ที่แบ่งตัวใหม่ โดยการจำลองตัวเองขึ้นที่เราเห็นรูปของโครโมโซม ซึ่งมีลักษณะคล้ายแท่งปาท่องโก๋ ขณะนั้นโครโมโซมจำลองตัวเองเพิ่มจำนวนจาก 1 ชุด เป็น 2 ชุดจากนั้นจึงแบ่งเซลล์ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 แสดงเซลล์ขณะเพิ่มจำนวนของโครโมโซมและทำการแบ่งตัว ดีเอ็นเอในธรรมชาติมีหลายรูปแบบ มีทั้งสายเดี่ยวและเกลียวคู่ แบบเป็นเส้นยาวและวงแหวน ดีเอ็นเอ  ดังนั้นในการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอจึงมีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่หลักการโดยทั่วไปเหมือนกัน ดังต่อไปนี้ การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) มีลักษณะ ดังรูปที่ 3 โดยเริ่มจาก จุดที่มีการเริ่มต้นการจำลองตัวเอง ดีเอ็นเอเกลียวคู่จะคลายเกลียวแยกออกจากกันเป็นสายเดี่ยว จากนั้นอาร์เอ็นเอไพร์เมอร์ เข้ามาเกาะที่ดีเอ็นเอสายเดิมที่ถูกแยกให้เป็นสายเดี่ยวของทั้งสองสาย จากนั้นเอนไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรสจะทำหน้าที่ต่อสายดีเอ็นเอให้ยาวขึ้นในทิศทาง 5’ 3’ โดยนำนิวคลีโอไทด์ ที่มีเบสคู่สมกับดีเอ็นเอเส้นเดิมเข้ามาต่อให้กับดีเอ็นเอสายใหม่ คือ เบส A จะจับคู่กับ T และ C จะจับคู่กับ G ดีเอ็นเอที่สร้างขึ้นมาทั้งสองเส้นนั้นมีความแตกต่างกัน โดยเส้นหนึ่งมีความยาวต่อเนื่องกันไปจนการสังเคราะห์สิ้นสุด (Leading stand) ส่วนอีกท่อนหนึ่งเป็นท่อนสั้น ๆ เรียกว่า Okazaki fragment (Lagging stand) ซึ่งมีอาร์เอนเอไพร์เมอร์คั่นอยู่เป็นช่วง ๆ และไม่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นเดียวตลอดกัน ดังนั้นเอนไซม์ดีเอนเอโพลีเมอเรส I จึงทำการกำจัดอาร์เอ็นเอไพร์เมอร์ทิ้งแล้วทำการเติมนิวคลีโอไทด์เข้าไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อกันให้เป็นเส้นเดียวกันด้วยเอนไซม์ ไลเกส เมื่อทำการสังเคราะห์ดีเอ็นเอจนไปจนสุดสายดีเอ็นเอ ก็จะมีเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำการปิดปลายของเส้นดีเอ็นเอที่สร้างขึ้น

โพสต์โดย : midnight midnight เมื่อ 21 เม.ย. 2566 14:53:36 น. อ่าน 61 ตอบ 0

facebook