Menu

ความจริงแล้วการโคลนนิ่ง

   (Cloning) นั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถที่จะทำได้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แต่ไม่ได้เป็นที่ฮือฮาหรือกระแสข่าวแต่อย่างใดเพราะสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นเพียง การโคลนนิ่งที่ทำกับพืชเท่านั้นเอง ต่อมาเริ่มเป็นที่สนใจของคนมากขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน คือ ดร.ทอมัส คิง (Thomas King) และคณะ ซึ่งได้ทำการทดลองโคลนนิ่งกบ ในปี พ.ศ.2495 ซึ่งถือเป็นการโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่พืชครั้งแรก      โคลนนิ่ง      นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ไม่อาจหยุดถอยการวิจัยและพัฒนาต่อไปได้ การโคลนนิ่งเป็นที่รู้จักและที่กล่าวถึงเป็นอย่างมากในช่วงที่สามารถทำการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างแกะเป็นตัวแรก โดยดร.เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) และคณะ ในปี พ.ศ.2540  การโคลนนิ่งในประเทศไทย           พื้นฐานการโคลนนิ่งในประเทศไทยนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่การถ่ายฝากตัวอ่อน การผสมเทียม การผลิตตัวอ่อนในหลอดแก้ว และสามารถทำการโคลนนิ่งได้สำเร็จคนแรกโดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ โคลนนิ่งวัวตัวแรกของประเทศไทย มีชื่อว่า อิง เป็นลูกโคสีดำ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543

โพสต์โดย : midnight midnight เมื่อ 21 เม.ย. 2566 15:33:46 น. อ่าน 76 ตอบ 0

facebook