Menu

พัฒนาการทางสมองที่ดีขึ้น

ศาสตราจารย์อันเดร ฟิซเชอร์ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า ในกรณีของลูกหนูทดลองนี้ เป็นการถ่ายทอดคุณลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูกโดยไม่ผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นปรากฏการณ์เอพิเจเนติกส์ (Epigenetics) ที่ผลจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ นอกเหนือจากพันธุกรรมถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูกได้ โดยดีเอ็นเอที่ถูกส่งต่อไม่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ศาสตราจารย์ฟิซเชอร์อธิบายว่า ลักษณะของสมองที่เรียนรู้ได้ไว ถูกถ่ายทอดผ่านโมเลกุลในอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งอยู่ในตัวอสุจิของพ่อ ทำให้เซลล์ประสาทสมองของลูกมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวเพื่อสื่อสารกันได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แม้มีความเป็นไปได้สูงว่า เจเนติกส์  ปรากฏการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นในมนุษย์ด้วยเช่นกัน แต่ทีมผู้วิจัยระบุว่ายังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก เพื่อพิสูจน์ยืนยันเรื่องนี้ให้แน่ชัด ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงพันธุศาสตร์ต่างแสดงความเห็นด้วยว่า ควรศึกษาทดลองเรื่องเอพิเจเนติกส์ในมนุษย์ให้มีความคืบหน้ายิ่งกว่านี้ ก่อนที่จะสรุปว่าระดับสติปัญญาเป็นผลมาจากปัจจัยอื่นที่นอกเหนือจากพันธุกรรมและการเรียนรู้ในวัยเด็กด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์มาร์คัส เพมบรีย์ จากโรงพยาบาลเด็กเกรทออร์มอนด์สตรีทในกรุงลอนดอนมองว่า ผลของการทดลองครั้งนี้อาจช่วยอธิบายปรากฏการณ์ที่ไอคิวของประชากรในสังคมอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นในทุก 10 ปี ตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมาได้

โพสต์โดย : midnight midnight เมื่อ 3 พ.ค. 2566 18:06:12 น. อ่าน 57 ตอบ 0

facebook